วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

ประวัติผู้ทำ

ชื่อ ส.อ.ชัชวาล พัวไกรศักดิ์
เกิด วันอังคาร ที่ 12 ตุลาคม 2525
ปีจอ เพศ ชาย
เกิดที่ จังหวัดนครราชสีมา

ที่อยู่ปัจจุบัน
206 ถนน พหลโยธิน แขวง สามเสนใน เขต พญาไท กรงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ 10400

การศึกษา
จบชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนสีคิ้วหนองหญ้าขาว
จบนักเรียนนายสิบ โรงเรียนนายสิบทหารบก หลักสูตร 1 ปี รุ่นที่ 6/45
ปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คณะวิทยาการจัดการ สาขา นิเทศศาสตร์/วิทยุและโทรทัศน์

อาชีพ
รับราชการทหาร

สถานที่ทำงาน
กองพันทหารสื่อสารที่ 12 รักษาพระองค์

เบอร์โทรศัพท์
มือถือ 038-3032837
ที่ทำงาน 02-2975054

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

5. รูปแบบการใช้งาน GPS

การใช้งานของ GPS

ผู้ที่ใช้ระบบ GPS จะต้องมีเครื่องรับสัญญาณ หน่วยประมวลผล โปรแกรม หรือข้อมูลแผนที่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ การรับสัญญานจากดาวเทียมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ส่วนการใช้งานในรูปแบบที่ใช้ประกอบกับแผนที่จะมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของแผนที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริษัทที่จัดทำแผนที่ ในประเทสไทยมีผู้จัดทำแผนที่เพื่อใช้กับ GPS รายใหญ่ๆได้แก่

ABLE ITS (POWER MAP)

ESRI (GARMIN)

MAP POINT ASIA (SMARTMAP)

BANGKOK GUIDE

BKKMap

MapKing

การประยุกต์ใช้งาน GPS ในปัจจุบัน
ปัจจุบันนี้ได้มีการใช้งาน GPS ในรูปแบบของการกำหนดพิกัดของสถานที่ต่าง ๆ การทำแผนที่ การนำทาง ระบบการควบคุมยานพาหนะ การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การกำหนดจุดเพื่อบรรเทาสาธารณะภัย การวางผังสำหรับการจัดส่ง

ประโยชน์ของระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกด้วยดาวเทียม

การนำร่องจากที่หนึ่งไปยังอื่น ๆ ตามต้องการ

การติดตามการเคลื่อนที่ของคนและสิ่งของต่าง ๆ

การสำรวจรังวัดและการทำแปนที่

การประยุกต์ใช้ GPS ในการควบคุมเครื่องจักรกล เช่น เครื่องจักรกลในการทำการเกษตรกรรม เครื่องจักรกลที่ใช้ในการขนส่งบริเวณท่าเรือ

การประยุกต์ใช้ GPS กับระบบการจราจรและการขนส่ง (Intelligent Transport Systems; ITS) ในการแก้ปัญหาจราจร การปรับปรุงความปลอดภัย การเพิ่มประสิทธิภาพระบบคมนาคม ขนส่ง และการใช้ระบบการประกันรถยนต์ (L-commerce)

การประยุกต์ใช้ GPS กับการตรวจวัดการเคลื่อนตัวของโครงสร้างางวิศวกรรมปรือเปลือกโลก

การใช้อ้างอิงการวัดเวลาที่เที่ยงตรงที่สุดในโลก

การประยุกต์ใช้ GPS ในการออกแบบเครื่อข่ายคำนวนตำแหน่งที่ตั้งด้านโทรคมนาคมและด้านพลังงาน เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำมัน

การประยุกต์ใช้ GPS ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การติดตามตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม และ การประยุกต์ใช้ GPSในด้านอื่นๆเช่นการเงินการธนาคาร

ที่มา
www.global5thailand.com

4. ระบบ GPS ในต่างประเทศ และ ในประเทศไทย

การใช้ระบบ GPS ในต่างประเทศ



ทุกวันนี้ในต่างประเทศมีการใช้อุปกรณ์ GPS กันอย่างกว้างขวาง และประชาชนมีความรู้เรื่อง GPS เป็นอย่างดี เพราะได้มีการใช้งานมาหลายปีแล้วและมีระบบเชื่อมโยงข้อมูลการจราจรในรูปแบบของดิจิตอล ประกอบกับมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระเบียบทำให้การพัฒนาระบบ GPS เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เช่น ในรถแท็กซี่จะพบอุปกรณ์ GPS ประจำอยู่แทบทุกคัน และนักเดินทางก็มักจะพกอุปกรณ์ GPS ในรูปแบบ PDA หรือ Pocket PC กันเป็นส่วนมาก แทนการพกพาสมุดแผนที่อย่างในอดีต ปัจจุบันนี้ระบบ GPS สามารถค้นหาถึงระดับบ้านเลขที่หรือเบอร์โทรศัพท์และนำทางไปสู่เป้าหมายได้อย่างถูกต้อง

แนวโน้มหรืออนาคตของ GPS ในประเทศไทย


สำหรับ GPS ยังเป็นของใหม่มากและรู้จักกันในหมู่ผู้ใช้งานในวงแคบ ๆ แต่ก็เป็นนิมิตหมายที่ดีในการที่จะแพร่หลายต่อไปในอนาคตปัจจุบันนี้ได้มีรถแท็กซี่บางค่ายได้นำ GPS ไปติดตั้ง
การใช้ GPS ในการติดตามรถบรรทุก รถยนต์ ซึ่งต่อไปน่าจะแพร่หลายไปถึงรถแท็กซี่ รถพยาบาล รถตำรวจ รถโรงเรียน รถขนส่งสาธารณะ ฯลฯ การแสดงสภาพการจราจรที่คาดว่าในอนาคตจะมี จุดที่ต้องระวังในการขับขี่ เช่น โค้งอันตราย เขตชุมชนลดความเร็ว เป็นต้น
ด้วยเทคโนโลยี GPS ในอนาคตจะเกิดอะไรที่น่าสนใจขึ้นอีกมากมาย การก่อสร้างอาจจะทำได้โดยใช้เครื่องมืออัตโนมัติที่ติดตั้ง receiver แทนที่จะใช้แรงงานคน หรือทำการวัดแบบเดิมๆ .. แบบที่ร่างของถนนที่วาดโดย CAD สามารถ download ลงในเครื่องจักรให้มันทำงานสร้างถนนเองอัตโนมัติ ..ระบบนำร่องสำหรับรถยนต์แบบไร้คนขับจะมีความเป็นไปได้มากขึ้น ..การนำร่องของเครื่องบินจะมีอิสระมากขึ้น (การบินในปัจจุบันยังจำเป็นต้องเลือกเส้นทางการบินที่แน่นอนก่อนจะขึ้นบิน และต้องบินตามเส้นทางนั้นตลอดจนถึงปลายทาง) GPS จะช่วยให้เครื่องบินทราบตำแหน่งที่แน่นอน และได้ทิศทางที่ถูกต้องของจุดหมายปลายทางตำแหน่งของเครื่องบินจะส่งไปยังสถานีภาคพื้นดินเพื่อติดตามและหาเส้นทางที่เหมาะสมได้ตลอดระยะเวลาการบินโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยคำนวณหาเส้นทาง การบินจะมีความปลอดภัยมากขึ้นเพราะศูนย์ควบคุมจะรู้ตำแหน่งของเครื่องบินและสามารถเตือนได้ล่วงหน้าหากมีเครื่องบินอื่นบินเข้าไปอยู่ในระยะปลอดภัยในการบิน.. ประโยชน์อีกอย่างของ GPS ก็คือมันให้เวลาที่เที่ยงตรงมาก มีธนาคารแห่งนึงนำเวลาจากดาวเทียม GPS มาใช้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสำนักงานสาขาต่างๆ ทั่วโลกได้บันทึก


transaction ในเวลาเดียวกัน .. Pacific Northwest Utility บ.ผลิตกระแสไฟฟ้าก็ใช้เวลาจาก GPS เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถจ่ายกระแสไฟได้ตามเวลาและปริมาณที่ต้องการ .. ทุกวันนี้ GPS receiver มีราคาลดลงมาเยอะ พอจะซื้อหามาใช้ได้ไม่ยากนัก ขนาดของ receiver ก็ลดลงมากจนพกไปไหนมาไหนได้สะดวก (นาฬิกาข้อมือ GPS ก็มีขายแล้ว)..ในขณะที่ฟังก์ชันการใช้งานมีเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะ เช่นผนวกกับแผนที่เพื่อบอกเส้นทางการเดินทาง หรือผนวกกับ database ของสถานที่ต่างๆ เพื่อให้หาเส้นทางได้เร็ว อนาคตเราอาจจะใช้ GPS หาว่าโรงพยาบาลที่ใกล้จุดเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือที่ไหน จะไปถึงที่นั่นได้อย่างไร ?

ที่มา วารสารเนคเทค ปีที่ 15 ฉบับที่ 80 เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2551
http://www.garmin.com/
http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=04860

3. ระบบนำทางด้วย GPS

การทำงานของระบบนำทางด้วย GPS
ก่อนอื่นผู้ใช้จะต้องมีเครื่องรับสัญญาณ เมื่อผู้ใช้นำเครื่องไปใช้งานมีการเปิดรับสัญญาณ GPS แล้ว ควรมีการวางแผนการเดินทางโดยการกำหนดจุดหมายปลายทางที่ตัวเครื่องเพื่อให้เครื่องได้คำนวณเส้นทาง
Tracking System ระบบติดตามยานพาหนะ
ระบบติดตามยานพาหนะเป็นศูนย์รวมข้อมูลที่แสดงตำแหน่งรถ พฤติกรรมการขับขี่รถ ระบบหาพิกัด ( GPS ) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และเก็บข้อมูลการทำงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับการนำทางด้วย GPS ประกอบด้วย
ตัวรับสัญญาณ หน่วยประมวลผล โปรแกรม และข้อมูลแผนที่ ปัจจุบันนี้มีเครื่อง GPS ที่มีครบทุกอย่างในตัวเอง ซึ่งจะมีความสะดวกในการใช้งานและมีความสเถียรสูงหรือแบบที่ใช้ร่วมกับ Pocket PC หรือ โน๊ตบุ๊คหรือ PC

GPS บนข้อมือ


GPS NAVIGATOR


ประโยชน์ของ GPS สำหรับบุคคลทั่วไป
ประโยชน์หลักของ GPS ก็คือ
1.บอกตำแหน่งว่าตอนนี้เราอยู่ที่ไหน
2.บันทึกเส้นทางว่าเราไปไหนมาบ้าง เช่นใช้ในการเดินป่า
3.นำทางไปจุดหมายที่กำหนด เช่น เราจะไปในสถานที่ที่ไม่เคยไปมาก่อน เราก็สามารถสั่งให้อุปกรณ์ GPS นำทางไปยังสถานที่นั้นได้ หรือจะใช้ค้นหาสถานที่สำคัญต่างๆก็ได้เช่นกัน
สามารถนำทางไปในสถานที่ต่าง ๆ ค้นหาสถานที่ต่าง ๆ ที่สำคัญ ๆ กำหนดจุดสนใจต่าง ๆ ได้ ใช้ในการวัดพื้นที่ การสำรวจ การเดินป่า การเดินเรือ ซึ่งสามารถนำทางกลับสู่ตำแหน่งตั้งต้นได้ และการบันทึกข้อมูลสำหรับการเล่นกีฬากลางแจ้ง
ในเรื่องการขนส่งมีการนำ GPS ไปใช้เป็นระบบติดตามรถยนต์ เพื่อควบคุมดูแลตลอดจนบันทึกเส้นทาง ลักษณะการขับรถ และการควบคุมเครื่องมืออุปกรณ์ในรถ เช่น อุณหภูมิ ตู้แช่สินค้า ทำให้สามารถบริหารจัดการการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย และในด้านความปลอดภัยก็สามารถทราบถึงตำแหน่งของรถว่าอยู่ที่ไหน เกิดอะไรขึ้น สะดวกต่อการตรวจสอบติดตาม



ที่มาของข้อมูล
http://www.garmin.com/
http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=04860
http://www.thaigps.com/
http://www.thaitechnics.com/nav/gps_t.html

2. ดาวเทียม GPS

GPS ทำงานโดยการรับสัญญานจากดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง โดยอาศัยข้อมูลที่ส่งตรงมาจากดาวเทียมแต่ละดวง โดยสัญญาณดาวเทียมนี้ประกอบไปด้วยข้อมูลที่ระบุตำแหน่งและเวลาขณะส่งสัญญาณ ตัวเครื่องรับสัญญาณ GPS จะต้องประมวลผลความแตกต่างของเวลาในการรับสัญญาณเทียบกับเวลาจริง ณ ปัจจุบันเพื่อแปรเป็นระยะทางระหว่างเครื่องรับสัญญานกับดาวเทียมแต่ละดวง ซึ่งได้ระบุมีตำแหน่งของมันมากับสัญญานดังกล่าวข้างต้น

หน้าที่สำคัญ ของดาวเทียม GPS มีดังนี้
1. รับข้อมูล วงโคจรที่ถูกต้องของดาวเทียม (Ephemeris Data) ที่ส่งมาจาก สถานีควบคุมดาวเทียมหลัก (Master Control Station) เพื่อส่งกระจายสัญญาณข้อมูลนี้ ลงไปยังพื้นโลก
สำหรับ GPS Receiver ใช้ในการคำนวณ ระยะห่าง (Range) ระหว่างดาวเทียมดวงนั้น กับ ตัวเครื่อง GPS Receiver และตำแหน่งของดาวเทียมบนท้องฟ้า เพื่อใช้คำนวณหา ตำแหน่งพิกัด ของตัวเครื่อง GPS Receiver เอง
2. ส่งรหัส (Code) และข้อมูล Carrier Phase ไปกับคลื่นวิทยุ ลงไปยังพื้นโลก สำหรับ GPS Receiver ใช้ในการคำนวณ ระยะห่าง (Range) ระหว่างดาวเทียมดวงนั้น กับ ตัวเครื่อง
GPS Receiver
3. ส่งข้อมูลตำแหน่งโดยประมาณของดาวเทียมทั้งหมด (Almanac Information) และข้อมูลสุขภาพ ของดาวเทียม ลงไปยังพื้นโลก สำหรับ GPS Receiver ใช้ในการกำหนดดาว
เทียมที่จะสามารถรับสัญญาณได้
ความแม่นยำของการระบุตำแหน่งนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดาวเทียมแต่ละดวง ค่าความถูกต้องของสัญญานจากดาวเทียม จำนวนดาวเทียมที่รับสัญญานได้ ความแปรปรวนของชั้นบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมในบริเวณรับสัญญาน และประสิทธิภาพของเครื่องรับสัญญาณ


ข้อมูลอ้างอิง :: www.rs.psu.ac.th และ www.thaitechnics.com

ที่มา :: http://www.pawoot.com/content/display/detail_preview.asp?CONT_ID=33
โดย นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

1. ความรู้เรื่อง GPS : Global Positioning System

ความรู้เรื่อง

GPS : Global Positioning System


GPS คือ ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก ย่อมาจากคำว่า Global Positioning System ซึ่งระบบ GPS ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1.ส่วนอวกาศ ประกอบด้วยเครือข่ายดาวเทียม 3 ค่ายคือ
-อเมริกา รัสเซีย ยุโรป ของอเมริกา ชื่อ NAVSTAR (Navigation Satellite Timing and Ranging GPS) มีดาวเทียม 28 ดวง ใช้งานจริง 24 ดวง อีก 4 ดวงเป็นตัวสำรอง บริหารงานโดย Department of Defenses มีรัศมีวงโคจรจากพื้นโลก 20,162.81 กม.หรือ 12,600 ไมล์ ดาวเทียมแต่ละดวงใช้ เวลาในการโคจรรอบโลก 12 ชั่วโมง
-ยุโรป ชื่อ Galileo มี 27 ดวง บริหารงานโดย ESA หรือ European Satellite Agency จะพร้อมใช้งานในปี 2008
-รัสเซีย ชื่อ GLONASS หรือ Global Navigation Satellite บริหารโดย Russia VKS (Russia Military Space Force)


ในขณะนี้ภาคประชาชนทั่วโลกสามารถใช้ข้อมูลจากดาวเทียมของทางอเมริกา (NAVSTAR) ได้ฟรี เนื่องจากนโยบายสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารสำหรับประชาชนของรัฐบาลสหรัฐ จึงเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในระดับความแม่นยำที่ไม่เป็นภัยต่อความมันคงของรัฐ กล่าวคือมีความแม่นยำในระดับบวก / ลบ 10 เมตร
2. ส่วนควบคุม ประกอบด้วยสถานีภาคพื้นดิน สถานีใหญ่อยู่ที่ Falcon Air Force Base ประเทศ อเมริกา และศูนย์ควบคุมย่อยอีก 5 จุด กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก
3. ส่วนผู้ใช้งาน ผู้ใช้งานต้องมีเครื่องรับสัญญาณที่สามารถรับคลื่นและแปรรหัสจากดาวเทียมเพื่อนำมาประมวลผลให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ

**ทุกวันนี้บางท่านมักจะเข้าใจผิดว่า GPS เป็น GPRS ซึ่ง GPRS ย่อมาจากคำว่า General Packet Radio Service เป็นระบบสื่อสารแบบไร้สายสำหรับโทรศัพท์มือถือ หรือ PDA หรือ note bookเพื่อเชื่อมต่อกับ internet**

หลักการของเครื่อง GPS คือการคำนวณระยะทางระหว่างดาวเทียมกับเครื่อง GPS ซึ่งจะต้องใช้ระยะทางจากดาวเทียมอย่างต่ำ 3 ดวง เพื่อให้ได้ตำแหน่งที่แน่นอน ซึ่งเมื่อเครื่อง GPS สามารถรับสัญญาณจากดาวเทียมได้ 3 ดวงขึ้นไปแล้ว จะมีคำนวณระยะทางระหว่างดาวเทียมถึงเครื่อง GPS โดยจากสูตรคำนวณทางฟิสิกส์คือ

ความเร็ว X เวลา = ระยะทาง

โดยดาวเทียมทั้ง 3 ดวงจะส่งสัญญาณที่เหมือนกันมายังเครื่อง GPS โดยความเร็วแสง (186,000 ไมล์ต่อวินาที) แต่ระยะเวลาในการรับสัญญาณได้จากดาวเทียมแต่ละดวงนั้นจะไม่เท่ากัน เนื่องจากระยะทางไม่เท่ากัน เช่น

ดาวเทียม 1 : ระยะเวลาในการส่งสัญญาณจากดาวเทียมดวงแรกถึงเครื่อง GPS คือ 0.10 วินาที ระยะทางระหว่างดาวเทียมกับ GPS คือ 18,600 ไมล์ (186,000 ไมล์ต่อวินาที X 0.10 วินาที = 18,600 ไมล์) ฉะนั้นตำแหน่งปัจจุบันก็จะสามารถเป็นจุดใดก็ได้ในวงกลมที่มีรัศมี 18,600 ไมล์ ซึ่งจะเห็นว่าดาวเทียมเพียงดวงเดียวยังไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนได้

ดาวเทียม 2 : ระยะเวลาในการส่งสัญญาณจากดาวเทียมดวงแรกถึงเครื่อง GPS คือ 0.08 วินาที ระยะทางระหว่างดาวเทียมกับ GPS คือ 13,200 ไมล์ (186,000 ไมล์ต่อวินาที X 0.08 วินาที = 13,200 ไมล์) ฉะนั้นตำแหน่งปัจจุบันก็จะสามารถเป็นจุดใดก็ได้ในจุด Intersect ระหว่างวงกลมจากดาวเทียมดวงแรกกับดาวเทียมดวงที่ 2

ดาวเทียม 3 : ระยะเวลาในการส่งสัญญาณจากดาวเทียมดวงแรกถึงเครื่อง GPS คือ 0.06 วินาที ระยะทางระหว่างดาวเทียมกับ GPS คือ 11,160 ไมล์ (186,000 ไมล์ต่อวินาที X 0.06 วินาที = 11,160 ไมล์) ฉะนั้นตำแหน่งปัจจุบันก็จะสามารถเป็นจุดใดก็ได้ในจุด Intersect ระหว่างวงกลมจากดาวเทียมทั้ง 3 ดวง

จะเห็นได้ว่าจะเหลือตำแหน่งอยู่ 2 จุดที่บริเวณวงกลมทั้ง 3 ตัดกันคือตำแหน่งที่อยู่ในอวกาศ ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่สามารถไปอยู่ในอวกาศได้ตำแหน่งนี้จะถูกตัดทิ้งอัตโนมัติโดยเครื่อง GPS อีกตำแหน่งคือตำแหน่งบนพื้นโลกซึ่งเป็นตำแหน่งที่เรายืนถือเครื่อง GPS อยู่นั้นเอง ซึ่งความถูกต้องแม่นยำของตำแหน่งก็ขึ้นกับจำนวนดาวเทียมที่สามารถรับสัญญาณได้ในขณะนั้นหากมีมากกว่า 3 ดวงก็จะละเอียดมากขึ้น และก็ขึ้นกับเครื่อง GPS ด้วย หากเป็นเครื่องที่มีราคาแพง (ซึ่งมักใช้เฉพาะงาน) ก็จะมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น

ข้อมูลตำแหน่งที่ได้มานั้น ยังสามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมในเครื่อง GPS เพื่อบอกจุดบนแผนที่ และแสดงตำแหน่งของเราว่าอยู่จุดใดของแผนที่ได้อีกด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นกับข้อมูลแผนที่ที่ติดมากับเครื่องด้วยว่ามีความแม่นยำเพียงใด โดยแผนที่พื้นฐานจะไม่ได้ติดตั้งมากับเครื่อง GPS ทุกรุ่น ซึ่งอาจจะต้องซื้อแยกจากตัวเครื่อง

ข้อมูลอ้างอิง :: www.rs.psu.ac.th และ www.thaitechnics.com

ที่มา :: http://www.pawoot.com/content/display/detail_preview.asp?CONT_ID=33
โดย นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ

จีพีเอส (GPS Technology)

จีพีเอส (GPS Technology) เป็นเทคโนโลยีการนำร่องและหาพิกัดบนพื้นโลกจากดาวเทียม การบริหารจัดการข้อมูลคุณลักษณะ (Meta Data) หรือที่เรียกว่าระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (RDBMS) มาประยุกต์ใช้ในการจัดทำฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนภารกิจตามมแผนป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศและการปฏิบัติอื่นๆ

อาจจะจำได้ กับภาพยนตร์แอคชั่นต่างประเทศเมื่อหลายปีก่อน เมื่อตัวเอกของเรื่องที่เป็นตำรวจ ไล่ตามจับตัวร้ายโดยใช้เครื่องมือแห่งอนาคตที่สามารถบอกตำแหน่งของตัวร้ายในรูปแบบของแผนที่ บนเครื่องมือขนาดย่อมคล้ายๆ PDA ทำให้สามารถตามจับตัวผู้ร้ายได้ หรือจะเป็นซีรีส์อีกเรื่อง ที่ตัวเอกเป็นตำรวจเช่นกัน สามารถระบุตำแหน่งของรถยนต์ที่กำลังขับอยู่ ผ่านหน้าจอคอนโทรลในรถ และดูแผนที่ของจุดที่กำลังจะไปได้ ในตอนนั้นผู้ชมคงคิดไม่ถึงว่าอีกไม่กี่ปีให้หลัง ภาพการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นจริง และไม่ใช่เพียงแค่การใช้งานทางด้านการทหารหรือตำรวจเท่านั้น แต่ยังเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราได้อีกด้วย

เทคโนโลยีดังกล่าวมีชื่อว่า GPS หรือระบบ Global Positioning System ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีใช้ช่วยในด้านการทหารในประเทศสหรัฐอเมริกา เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้ท่านสามารถทราบตำแหน่งของจุดที่ต้องการได้ ด้วยระยะความแม่นยำสูง ความคลาดเคลื่อนเพียงแค่หลักเมตรเท่านั้น ระบบ GPS นี้เป็นการทำงานร่วมกันขององค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้
1.ส่วนอวกาศ (Space Segment) ระบบ GPS จะเป็นการทำงานของดาวเทียม GPS จำนวนทั้งหมด 24 ดวง ที่โคจรอยู่รอบโลก ที่ความสูงจากพื้นโลกประมาณ 20,000 กิโลเมตร เป็นตัวส่งสัญญาณบอกพิกัดของจุดที่ต้องการทราบ สัญญาณดังกล่าวจะต้องถูกส่งมาจากดาวเทียมอย่างน้อย 3 ดวงขึ้นไป ในการส่งพิกัดที่ถูกต้องมายังอุปกรณ์บนพื้นโลก
2. ส่วนควบคุมดาวเทียม (Control Segment) ซึ่งอยู่บนพื้นโลก ประกอบไปด้วย 1 สถานีหลัก และ 5 สถานีย่อยที่กระจายกันอยู่ตามตำแหน่งต่างๆ ศูนย์ควบคุมนี้จะทำหน้าที่ในการควบคุมและติดต่อสื่อสารกับดาวเทียม รวมทั้งคำนวณผลจากดาวเทียมแต่ละดวง และส่งข้อมูลที่ได้โต้ตอบกลับไปยังดาวเทียม ทำให้ข้อมูลที่ได้รับอัพเดทตลอดเวลา
3. ส่วนผู้ใช้ (User Segment) ในส่วนของผู้ใช้นี้ จะเป็นการดูตำแหน่ง หรือพิกัดที่ได้รับจากดาวเทียม ผ่านการประมวลผลจากเครื่องมือรับสัญญาณ เพื่อให้ได้จุดของตำแหน่งที่ต้องการทราบได้

อยากให้เทคโนโลยีนี้มีให้บริการอย่างแพร่หลายเร็วๆเพราะจะได้ติดตามตำแหน่งของสิ่งต่าง (โดยอย่างยิ่งสิ่งที่คุณรัก) ได้ง่ายๆ ซักที ในทางตรงข้าม หลายๆ ท่านอาจจะไม่อยากให้ภาพเหล่านี้เกิดขึ้น เพราะอาจสร้างความลำบากให้กับตนเอง (จะทำอะไร ไปไหนไม่สะดวกเหมือนก่อน) แต่อย่างไรก็ตาม ก็ขอให้ผู้ให้บริการทั้งหลายอย่าลืมเพิ่มเรื่องสิทธิส่วนบุคคลในบริการต่างๆ ด้วย


ข้อมูลอ้างอิง :: www.rs.psu.ac.th และ www.thaitechnics.com

ที่มา :: http://www.pawoot.com/content/display/detail_preview.asp?CONT_ID=33
โดย นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ