วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

จีพีเอส (GPS Technology)

จีพีเอส (GPS Technology) เป็นเทคโนโลยีการนำร่องและหาพิกัดบนพื้นโลกจากดาวเทียม การบริหารจัดการข้อมูลคุณลักษณะ (Meta Data) หรือที่เรียกว่าระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (RDBMS) มาประยุกต์ใช้ในการจัดทำฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนภารกิจตามมแผนป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศและการปฏิบัติอื่นๆ

อาจจะจำได้ กับภาพยนตร์แอคชั่นต่างประเทศเมื่อหลายปีก่อน เมื่อตัวเอกของเรื่องที่เป็นตำรวจ ไล่ตามจับตัวร้ายโดยใช้เครื่องมือแห่งอนาคตที่สามารถบอกตำแหน่งของตัวร้ายในรูปแบบของแผนที่ บนเครื่องมือขนาดย่อมคล้ายๆ PDA ทำให้สามารถตามจับตัวผู้ร้ายได้ หรือจะเป็นซีรีส์อีกเรื่อง ที่ตัวเอกเป็นตำรวจเช่นกัน สามารถระบุตำแหน่งของรถยนต์ที่กำลังขับอยู่ ผ่านหน้าจอคอนโทรลในรถ และดูแผนที่ของจุดที่กำลังจะไปได้ ในตอนนั้นผู้ชมคงคิดไม่ถึงว่าอีกไม่กี่ปีให้หลัง ภาพการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นจริง และไม่ใช่เพียงแค่การใช้งานทางด้านการทหารหรือตำรวจเท่านั้น แต่ยังเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราได้อีกด้วย

เทคโนโลยีดังกล่าวมีชื่อว่า GPS หรือระบบ Global Positioning System ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีใช้ช่วยในด้านการทหารในประเทศสหรัฐอเมริกา เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้ท่านสามารถทราบตำแหน่งของจุดที่ต้องการได้ ด้วยระยะความแม่นยำสูง ความคลาดเคลื่อนเพียงแค่หลักเมตรเท่านั้น ระบบ GPS นี้เป็นการทำงานร่วมกันขององค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้
1.ส่วนอวกาศ (Space Segment) ระบบ GPS จะเป็นการทำงานของดาวเทียม GPS จำนวนทั้งหมด 24 ดวง ที่โคจรอยู่รอบโลก ที่ความสูงจากพื้นโลกประมาณ 20,000 กิโลเมตร เป็นตัวส่งสัญญาณบอกพิกัดของจุดที่ต้องการทราบ สัญญาณดังกล่าวจะต้องถูกส่งมาจากดาวเทียมอย่างน้อย 3 ดวงขึ้นไป ในการส่งพิกัดที่ถูกต้องมายังอุปกรณ์บนพื้นโลก
2. ส่วนควบคุมดาวเทียม (Control Segment) ซึ่งอยู่บนพื้นโลก ประกอบไปด้วย 1 สถานีหลัก และ 5 สถานีย่อยที่กระจายกันอยู่ตามตำแหน่งต่างๆ ศูนย์ควบคุมนี้จะทำหน้าที่ในการควบคุมและติดต่อสื่อสารกับดาวเทียม รวมทั้งคำนวณผลจากดาวเทียมแต่ละดวง และส่งข้อมูลที่ได้โต้ตอบกลับไปยังดาวเทียม ทำให้ข้อมูลที่ได้รับอัพเดทตลอดเวลา
3. ส่วนผู้ใช้ (User Segment) ในส่วนของผู้ใช้นี้ จะเป็นการดูตำแหน่ง หรือพิกัดที่ได้รับจากดาวเทียม ผ่านการประมวลผลจากเครื่องมือรับสัญญาณ เพื่อให้ได้จุดของตำแหน่งที่ต้องการทราบได้

อยากให้เทคโนโลยีนี้มีให้บริการอย่างแพร่หลายเร็วๆเพราะจะได้ติดตามตำแหน่งของสิ่งต่าง (โดยอย่างยิ่งสิ่งที่คุณรัก) ได้ง่ายๆ ซักที ในทางตรงข้าม หลายๆ ท่านอาจจะไม่อยากให้ภาพเหล่านี้เกิดขึ้น เพราะอาจสร้างความลำบากให้กับตนเอง (จะทำอะไร ไปไหนไม่สะดวกเหมือนก่อน) แต่อย่างไรก็ตาม ก็ขอให้ผู้ให้บริการทั้งหลายอย่าลืมเพิ่มเรื่องสิทธิส่วนบุคคลในบริการต่างๆ ด้วย


ข้อมูลอ้างอิง :: www.rs.psu.ac.th และ www.thaitechnics.com

ที่มา :: http://www.pawoot.com/content/display/detail_preview.asp?CONT_ID=33
โดย นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ

1 ความคิดเห็น:

  1. เป็นเทคโนโลยีที่ประสิทธิภาพมาก
    น่าจะศึกษาไว้

    ตอบลบ